วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553



กลุ่มยารักษาริดสีดวงทวาร
ขลู่




ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pluchea indica (L.) Less.
ชื่อสามัญ : Indian Marsh Fleabane
วงศ์ : Asteraceae (Compositae)
ชื่ออื่น : หนวดงั่ว หนวดงิ้ว หนวดงัว หนาดวัว (อุดรธานี) ขี้ป้าน (แม่ฮ่องสอน) คลู ขลู (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-2.5 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียน รูปรี ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยห่างๆ สีเขียว ก้านใบสั้น ดอก ออกเป็นช่อแยกขนงตามปลายยอด ช่อย่อยเป็นช่อกระจุกแน่น ดอกสีม่วงอ่อน ดอกย่อยมี 2 แบบ ตรงกลางเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกที่เหลืออยู่รอบๆ เป็นดอกเพศเมีย กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผล เป็นผลแห้งเมล็ดล่อน รูปทรงกระบอก เป็นสันเหลี่ยม 10 สันส่วนที่ใช้ : ทั้งต้นสด หรือแห้ง เปลือก ใบ เมล็ด ดอก (นิยมใช้เฉพาะใบ)
สรรพคุณ :
ทั้งต้นสด หรือแห้ง - ปรุงเป็นยาต้มรับประทานขับปัสสาวะ แก้โรคนิ่วในไต แก้ปัสสาวะพิการ แก้วัณโรคที่ต่อมน้ำเหลือง เป็นยาช่วยย่อย แก้ริดสีดวงทวารหนัก ริดสีดวงจมูก
เปลือก ใบ เมล็ด - แก้ริดสีดวงทวาร ริดสีดวงจมูก แก้กระษัย เป็นยาอายุวัฒนะ
ใบ - มีกลิ่นหอม ต้มน้ำดื่ม แทนเป็นน้ำชา เพื่อลดน้ำหนัก แก้ปวดเมื่อย ขับระดูขาว แก้แผลอักเสบ และต้มน้ำอาบบำรุงประสาท สำหรับแก้แผลอักเสบ อาจใช้ใบสดตำพอก บริเวณที่เป็น แก้ริดสีดวงทวาร ยาอายุวัฒนะ
ใบและราก - รับประทานเป็นยาฝาดสมาน แก้บิด แก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้แผลอักเสบ ใช้รากสดตำพอกบริเวณที่เป็น
ดอก - แก้โรคนิ่ว
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
เป็นยาแก้อาการขัดเบา ใช้ทั้งต้นขลู่ 1 กำมือ (สดหนัก 40- 50 กรัม แห้งหนัก 15- 20 กรัม ) หั่นเป็นชิ้นๆ ต้มกับน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
เป็นยาริดสีดวงทวาร ริดสีดวงจมูก ใช้เปลือกต้น ต้มน้ำ เอาไอรมทวารหนัก และรับประทาน แก้โรคริดสีดวงทวาร หรือใช้เปลือกต้น (ขูดเอาขนออก) แบ่งเป็น 3 ส่วนส่วนที่ 1 นำมาตากแห้ง ทำเป็นยาสูบส่วนที่ 2 นำมาต้มน้ำรับประทานส่วนที่ 3 ต้มน้ำเอาไปรมทวารหนักเปลือกบางของต้นขูดขนออกให้สะอาด ทำเป็นเส้นตากแห้ง คล้ายเส้นยาสูบ แก้ริดสีดวงจมูก
การใช้ขลู่ในใบชาลดความอ้วน !การใช้ยาขับปัสสาวะในทางการแพทย์นั้น มักใช้เพื่อลดความดันโลหิต และเพื่อลดอาการบวมน้ำ อาจมีที่ใช้ในกรณีอื่นอีกบ้าง แต่แพทย์ไม่ใช้ยาขับปัสสาวะ เพื่อลดความอ้วน สมุนไพรที่ใช้ชื่อว่า ใบชาลดความอ้วน ทั้งหลาย มักมีสมุนไพรที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะอยู่ด้วย เมื่อแพทย์ไม่ใช้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดความอ้วน ทำไมผู้ที่มิใช้แพทย์จึงใช้สมุนไพรขับปัสสาวะเพื่อลดความอ้วน ? (ข้อนี้โปรดใช้วิจารณญาณ)
สารเคมี : ในใบพบ 3-(2,3-diacetoxy-2-methyl butyryl) cuauhtemone

กลุ่มยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ
กฤษณา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aquilaria crassna Pierre ex Lecomte
ชื่อสามัญ : Eagle wood
วงศ์ : Thymelaeaceae
ชื่ออื่น : ไม้หอม (ภาคตะวันออก)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 18-30 เมตร เปลือกสีเทา แตกเป็นร่องยาวตื้นๆ ตามกิ่งอ่อนมีขนสีขาวปกคลุม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี กว้าง 3-5 ซม. ยาว 6-11 ซม. โคนใบมน ปลายใบเป็นติ่งแหลม แผ่นใบค่อนข้างหนา เรียบเกลี้ยง สีเขียว มีขนประปรายตามเส้นใบด้านล่าง ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 0.2-0.7 ซม. ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกสีเขียวอมเหลือง กลีบเลี้ยงโคนติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 5 แฉก ติดทน กลีบดอก 5 กลีบ เกสรเพศผู้มี 10 อัน ผล รูปกลมรี มีเส้นแคบตามยาวของผล ผิวขรุขระเป็นลายสีเขียว มีขนละเอียดสั้นคล้ายกำมะหยี่ พอแก่แตกอ้าออก เมล็ดกลมรี สีน้ำตาลเข้ม มี 1-2 เมล็ด ส่วนที่ใช้ : เนื้อไม้ แก่น และชัน
สรรพคุณ :
เนื้อไม้ - รสขม หอม เป็นยาบำรุงหัวใจ (คือมีอาการหน้าเขียวตาเขียว)- ช่วยตับ ปอด ให้เป็นปกติ แพทย์ตามชนบทใช้ปรุงเป็นยาหอมแก้ลมหน้ามืดวิงเวียน ผสมเครื่องหอมทุกชนิด ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอม เช่น ธูปหอม น้ำอบไทย- สุมศีรษะ แก้ลมทรางสำหรับเด็ก รับประทานให้ชุ่มชื่นหัวใจ กฤษณาชนิด Aquilaria agallocha ใช้เนื้อไม้เป็นยารักษาโรคปวดข้อ
น้ำมันจากเมล็ด - รักษาโรคเรื้อน และโรคผิวหนังได้
วิธีใช้ : เข้ายาหอมบำรุงหัวใจ รวมกับสมุนไพรอื่นๆ เช่น เกษรทั้ง 5 และอื่นๆ

กลุ่มยาลดไขมันในเส้นเลือด
กระเจี๊ยบแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus sabdariffa L.
ชื่อสามัญ : Jamaican Sorel, Roselle
วงศ์ : Malvaceae
ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ย ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้
สรรพคุณ : กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผลเป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง
ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งเปราะได้ดี น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่งช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่ด้วย แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก ดอก แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก ผล ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ
เมล็ด บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด
นอกจากนี้ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน นอกจากใช้เดี่ยวๆ แล้ว ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด
วิธีและปริมาณที่ใช้ : โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไป

สารเคมี

ดอก พบ Protocatechuic acid, hibiscetin, hibicin, organic acid, malvin, gossypetin

คุณค่าด้านอาหาร

น้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมเยลลี่ แยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "ส้มพอเหมาะ" ในใบมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง น้ำกระเจี๊ยบแดงที่ได้สีแดงเข้ม สาร Anthocyanin นำไปแต่งสีอาหารตามต้องการ

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553


สมุนไพร แก้อักเสบเฉพาะที่ ผื่นคัน แมลงสัตว์กัดต่อย


พญาปล้องทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clinacantus nutans (Burm.) Lindau
วงศ์ : Acanthaceae
ชื่ออื่น : ผักมันไก่ ผักลิ้นเขียด พญาปล้องคำ พญาปล้องดำ พญายอ เสลดพังพอน เสลดพังพอนตัวเมีย
ลักษณะ : ไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 1-3 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก กว้าง 1-3 ซม. ยาว 4-12 ซม. สีเขียวเข้ม ดอกช่อ ออกเป็นกะจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีแดงส้ม โคนกลีบ สีเขียว ติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 2 ปาก ไม่ค่อยออกดอก ผลเป็นผลแห้ง แตกได้
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ใบสดรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แมลงกัดต่อย ผื่นคัน โดยนำใบสด 5-10 ใบ ตำหรือขยี้ทา การทดลองในสัตว์พบว่าสารสกัดใบสดด้วย n-butanol สามารถลดการอักเสบได้ มีการเตรียมเป็นทิงเจอร์เพื่อใช้ทารักษาอาการอักเสบจากเริมในปาก โดยใช้ใบสด 1 กก. ปั่นละเอียด เติมแอลกอฮอล์ 70% 1 ลิตร หมัก 7 วัน กรอง ระเหยบนเครื่องอังไอน้ำให้ปริมาตรลดลงครึ่งหนึ่ง เติมกลีเซอรีนเท่าตัว


เสลดพังพอน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barleria lupulina Lindl.
วงศ์ : Acanthaceae
ชื่ออื่น : ตราด ชองระอา, ทั่วไป เสลดพังพอนตัวผู้, กลาง พิมเสนต้น,จีน เซ้กแซเกี่ยม ฮวยเฮียวแก่โต่วเกียงลักษณะ : ไม้พุ่ม สูงถึง 2 เมตร ใบเดี่ยวออกตรงข้าม ตัวใบเรียวยาว ด้านบนสีเขียวเข้ม เส้นใบสีแดง ด้านล่างสีจางกว่า ผิวใบเกลี้ยง ยาว 5-10 ซม. กว้าง 0.5-1.5 ซม. ก้านใบสั้น ตามซอกใบจะมีหนามแหลม 2 อัน ช่อดอกรูปทรงกระบอก ตั้งตรงหรือห้อยลง ยาว 3-9 ซม. กลีบดอกสีเหลือง ยาว 2-4 ซม. กลีบรองดอกสีเขียวปลายยอดสีม่วง ผล ยาวประมาณ 1.5 ซม. พบทั่วไป นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาแผนโบราณ ใบ พอกฝี แก้ช้ำบวม ทั้งต้น แก้พิษงู แห้ปวดฟัน ราก ฝนกับสุรา ทาถอนพิษงู ตะขาบ แมลงป่อง ผึ้ง ปลาแขยง

สมุนไพร แก้ชันนะตุ


มะคำดีควาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sapindus emarginatus Wall.

วงศ์ : Sapindaceaeชื่อสามัญ : Soapberryชื่ออื่น : ประคำดีควาย

ลักษณะ : ไม้ยืนต้น สูง 10-30 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 5-7 ซม. ยาว 10-14 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง แยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน กลีบดอกสีนวล ผลเป็นผลสด รูปกลม

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ผลทุบให้แตก แช่น้ำล้างหน้า รักษาผิว แก้รังแค แก้ชันนะตุ (โรคผิวหนังพุพองบนศีรษะเด็ก) มีรายงานว่าเนื้อผลมีสารซาโปนินที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคกลากได้ดี

สมุนไพร แก้กลากเกลื้อน


ชุมเห็ดเทศ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia alata L.

วงศ์ : Leguminosaeชื่อสามัญ Ringworm Bush

ชื่ออื่น : ขี้คาก ลับมีนหลวง หมากกะลิงเทศ ชุมเห็ดใหญ่

ลักษณะ : ไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร แตกกิ่งออกด้านข้างในแนวขนานกับพื้น ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนานรูปวงรีแกมขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ กว้าง 3-7 ซ.ม. ยาว 6-15 ซ.ม. หนูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม ดอกช่อ ออกที่ซอกใบตอนปลายกิ่งกลีบดอกสีเหลืองทองใบประดับสีน้ำตาลแกมเหลือง หุ้มดอกย่อยเห็นชัดเจน ผลเป็นฝัก มี 4 ครีบ เมล็ดแบน รูปสามเหลี่ยม

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ใบและดอกและดอกเป็นยาระบาย โดยใช้ใบแห้งครั้งละ 12 ใบ ต้มหรือชงน้ำดื่มก่อนนอน หรือทำเป็นยาลูกกลอนหรือใช้ดอกสด 2-3 ช่อ ต้มกินเป็นผักจิ่ม การทดลองในสัตว์และคน พบว่าใบแก่มีฤทธิ์น้อยกว่าใบอ่อน ส่วนต่างๆ ของชุมเห็ดเทศมีสารกลุ่มแอนทราควิโนน เช่น rhein, emodin และ aloe-emodin ซึ่งมีฤทธิ์ระบายโดยการกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ จึงไม่ควรกินติดต่อกันนาน เพราะเมื่อไม่ได้รับยาจะทำให้ลำไส้ไม่ทำงานตามปกติ สตรีมีครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้นอกจากนี้ยังใช้ใบสดเป็นยาภายนอกรักษากลากเกลื้อน โดยตำแช่เหล้า เอาส่วนเหล้าทาบริเวณที่เป็นวันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย พบว่าได้ผลดี แต่ใช้ไม่ได้ผลกับผู้ป่วยที่ติดเชื่อราที่ผมและ

กระเทียม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium sativum L.
วงศ์ : Alliaceae ชื่อสามัญ : Common Garlic , Allium ,Garlic ,
ชื่ออื่น : กระเทียม (ภาคกลาง) หอมเทียม (ภาคเหนือ) หอมขาว (ภาคอีสาน) เทียม, หอมเทียม (ภาคใต้)ลักษณะ : ไม้ล้มลุก มีกลิ่นแรง มีหัวใต้ดิน ลักษณะกลมแป้น ใบ เดี่ยวขึ้นมาจากดิน เรียงซ้อนสลับ แบนเป็นแถบแคบ ช่อดอก แบบช่อซี่ร่ม ประกอบด้วยตะเกียงรูปไข่เล็กๆ จำนวนมากอยู่ปะปนกับดอกขนาดเล็กซึ่งมีจำนวนน้อย มีใบประดับใหญ่ 1 ใบ ลักษณะบางใส แห้ง เป็นจะงอยแหลมหุ้มช่อดอกขณะที่ยังตูมอยู่ ก้านช่อดอกเป็นก้านโดด เรียบ รูปทรงกระบอกตัน ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบรวม 6 กลีบ สีขาวหรือขาวอมชมพู ผล เล็กเป็นกระเปาะสั้นๆ รูปไข่หรือค่อนข้างกลม มี 3 พู เมล็ด เล็ก สีดำ
ประโยชน์ทางสมุนไพร : เป็นอาหารหรือเครื่องเทศ โดยใช้ทั้งต้นเป็นอาหาร หัวกระเทียมสด แห้ง และน้ำมันกระเทียมใช้เป็นเครื่องเทศแต่งกลิ่นอาหาร เป็นอาหารเสริมสุขภาพ ใช้บำบัดอาการไอ หวัด หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ปวดฟัน ปวดหู ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย โรคความดันโลหิตสูง เส้นเลือดเปราะ ขับลม ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ขับประจำเดือน ขับพยาธิไส้เดือน ลดอาการอักเสบบวม ฆ่าเชื้อ แก้โรคผิวหนัง เป็นยาฆ่าแมลง น้ำมันกระเทียมใช้ทาแก้แมลงกัดต่อย

ทองพันชั่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhinacanthus nasutus Kurz
วงศ์ : Acanthaceae
ชื่ออื่น : ทองคันชั่ง หญ้ามันไก่
ลักษณะ : ไม้พุ่มสูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนมักเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามรูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบกลีบดอกสีขาว โดคนกลีบติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมีจุดประสีม่วงแดง ผลเป็นผลแห้ง แตกได้
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ใบสดและรากโขลกละเอียด แช่เหล้าโรง 1 สัปดาห์เอาน้ำทาแก้กลากเกลื้อน สารสำคัญคือ rhinacanthin และ oxymethylanthraquinone


สมุนไพร ไล่ยุง


ตะไคร้หอม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymgopogon winterianus Jowitt.

วงศ์ : Gramineaeชื่อสามัญ : Citronella Grass

ชื่ออื่น : จะไคมะขูด ตะไครมะขูด ตะไคร้แดง

ลักษณะ : ตะไคร้หอมมีลักษณะส่วนใหญ่คล้ายกับตะไคร้ ต่างกันที่กลิ่น กาบใบและแผ่นใบ กาบใบของตะไคร้หอมมีสีเขียวปนม่วงแดง แผ่นใบกว้าง ยาวและนิ่มกว่าเล็กน้อย ทำให้ปลายห้อยลงปรกดินกว่า ดอกช่อ สีน้ำตาลแดง แทงออกจากกลางต้น ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เหง้าเป็นยาบีบมดลูก ขับประจำเดือน ขับปัสสาวะ ขับระดูขาว เหง้า ใบและกาบมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งมีขายในชื่อว่า citronella oil ใช้เป็นยากันยุง โดยละลายน้ำ ตะไคร้หอม 7 ส่วนในแอลกอฮอล์เช็ดแผล (70%) 93 ส่วน ฉีดพ่น หรือตำใบสดหมักในแอลกอฮอล์ในอัตราส่วน 1:1 ทาตรงขอบประตูที่ปิดเปิดเสมอ หรือชุบสำลีแขวนเอาไว้หน้าประตูเข้าออก หรือใช้ใบตะไคร้หอมมัดแล้วทุบให้ช้ำวางไว้ตามมุมห้องหรือใต้เตียง นอกจากนี้ยังมีรายงานฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคพืชด้วย

ไพล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber purpureum Roscoe
วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่ออื่น : ปูลอย ปูเลย ว่านไฟ
ลักษณะ : ไม้ล้มลุก สูง 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองแกมเขียว มีกลิ่นเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอประกอบด้วยกาบหรือโคน ใบหุ้มซ้อนกัน ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3.5-5.5 ซม. ยาว 18-35 ซม. ดอก ช่อ แทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกสีนวล ใบประดับสีม่วง ผล เป็นผลแห้ง รูปกลม
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เหง้าเป็นยาขับลม ขับประจำเดือน มีฤทธิ์ระบายอ่อน ๆ แก้บิด สมานลำไส้ ยาภายนอกใช้เหง้าสดฝนทาแก้เคล็ดยอก ฟกบวม เส้นตึง เมื่อยขบ เหน็บชา สมานแผล จากการวิจัยพบว่าในเหง้ามีน้ำมันหอมระเหยซึ่งมีคุณสมบัติลดอาการอักเสบและบวม จึงมีการผลิตยาขี้ผึ้งผสมน้ำมันไพล เพื่อใช้เป็นยาทาแก้อาการเคล็ดขัดยอก น้ำมันไพลผสมแอลกอฮอล์สามารถทากันยุงได้ นอกจากนี้พบว่าในเหง้ามีสาร 4-(4-hydroxy-1-butenyl) veratrole ซึ่งมีฤทธิ์ขยายหลอดลม ได้ทดลองใช้ผงไพล กับผู้ป่วยเด็กที่เป็นหืด สรุปว่าให้ผลดีทั้งในรายที่มีอาการหอบหืดเฉียบพลันและเรื้อรัง