วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553


สมุนไพร แก้อักเสบเฉพาะที่ ผื่นคัน แมลงสัตว์กัดต่อย


พญาปล้องทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clinacantus nutans (Burm.) Lindau
วงศ์ : Acanthaceae
ชื่ออื่น : ผักมันไก่ ผักลิ้นเขียด พญาปล้องคำ พญาปล้องดำ พญายอ เสลดพังพอน เสลดพังพอนตัวเมีย
ลักษณะ : ไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 1-3 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก กว้าง 1-3 ซม. ยาว 4-12 ซม. สีเขียวเข้ม ดอกช่อ ออกเป็นกะจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีแดงส้ม โคนกลีบ สีเขียว ติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 2 ปาก ไม่ค่อยออกดอก ผลเป็นผลแห้ง แตกได้
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ใบสดรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แมลงกัดต่อย ผื่นคัน โดยนำใบสด 5-10 ใบ ตำหรือขยี้ทา การทดลองในสัตว์พบว่าสารสกัดใบสดด้วย n-butanol สามารถลดการอักเสบได้ มีการเตรียมเป็นทิงเจอร์เพื่อใช้ทารักษาอาการอักเสบจากเริมในปาก โดยใช้ใบสด 1 กก. ปั่นละเอียด เติมแอลกอฮอล์ 70% 1 ลิตร หมัก 7 วัน กรอง ระเหยบนเครื่องอังไอน้ำให้ปริมาตรลดลงครึ่งหนึ่ง เติมกลีเซอรีนเท่าตัว


เสลดพังพอน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barleria lupulina Lindl.
วงศ์ : Acanthaceae
ชื่ออื่น : ตราด ชองระอา, ทั่วไป เสลดพังพอนตัวผู้, กลาง พิมเสนต้น,จีน เซ้กแซเกี่ยม ฮวยเฮียวแก่โต่วเกียงลักษณะ : ไม้พุ่ม สูงถึง 2 เมตร ใบเดี่ยวออกตรงข้าม ตัวใบเรียวยาว ด้านบนสีเขียวเข้ม เส้นใบสีแดง ด้านล่างสีจางกว่า ผิวใบเกลี้ยง ยาว 5-10 ซม. กว้าง 0.5-1.5 ซม. ก้านใบสั้น ตามซอกใบจะมีหนามแหลม 2 อัน ช่อดอกรูปทรงกระบอก ตั้งตรงหรือห้อยลง ยาว 3-9 ซม. กลีบดอกสีเหลือง ยาว 2-4 ซม. กลีบรองดอกสีเขียวปลายยอดสีม่วง ผล ยาวประมาณ 1.5 ซม. พบทั่วไป นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาแผนโบราณ ใบ พอกฝี แก้ช้ำบวม ทั้งต้น แก้พิษงู แห้ปวดฟัน ราก ฝนกับสุรา ทาถอนพิษงู ตะขาบ แมลงป่อง ผึ้ง ปลาแขยง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น