วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553


สมุนไพร แก้ขัดเบา


กระเจี๊ยบแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus sabdariffa L.

วงศ์ : Malvaceae

ชื่อสามัญ : Roselle

ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ย ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง

ลักษณะ : ไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ใบและยอดอ่อนซึ่งมีรสเปรี้ยวแก้ไอ เมล็ดบำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ มีรายงานการทดลองในผู้ป่วยโรคนิ่วในท่อไต ซึ่งดื่มยาชงกลีบเลี้ยงแห้งของผล 3 กรัมในน้ำ 300 ซีซี วันละ 3 ครั้ง ทำให้ถ่ายปัสสาวะสะดวกขึ้น บางรายนิ่วหลุดได้เอง นอกจากนี้ทำให้ผู้ป่วยกระเพาะปัสสาวะอักเสบมีอาการปวดแสบเวลาปัสสาวะน้อยลง

ขลู่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pluchea indica Less.
วงศ์ : Compositae
ชื่อสามัญ : Indian Marsh Fleabane
ชื่ออื่น : ขลู่ หนวดงั่ว หนงดงิ้ว หนวดงัว หนวดวัว
ลักษณะ : ไม้พุ่ม สูง 1-2.5 เมตร ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับ กว้าง 1-5 ซม. ยาว 2.5-10 ซม. ขอบใบหยักซี่ฟันห่าง ๆ ดอกช่อ ออกที่ยอดและซอกฟัน กลีบดอกสีม่วง ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตกประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ทั้งต้นต้มกินเป็นยาขับปัสสาวะ แก้เบาหวาน ต้มน้ำอาบแก้ผื่นคัน น้ำคั้นใบสดรักษาริดสีดวงทวาร การทดลองในสัตว์และคนปกติ พบว่ายาชงทั้งต้นมีฤทธิ์ขับปัสสาวะมากว่ายาขับปัสสาวะแผนปัจจุบัน (hydrochlorothiazide) และมีข้อดีคือสูญเสียเกลือแร่น้อยกว่า


ชุมเห็ดไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia tora L.
วงศ์ : Leguminosae
ชื่อสามัญ : Foetid Cassia
ชื่ออื่น : ชุมเห็ดควาย ชุมเห็ดนา ชุมเห็ดเล็ก ลับมีนน้อย พรมดาน หญ้าลึกลืน
ลักษณะ : ไม้ล้มลุก สูง 0.5-1 เมตร แตกกิ่งด้านข้างเป็นพุ่ม ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ มีใบย่อย 3 คู่ รูปไข่กลับหรือรูปขอบขนานแกมไข่กลับ กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 2-4 ซม. ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบตอนปลายกิ่งและที่ปลายกิ่ง เป็นกระจุก 2-4 ดอก กลีบดอกสีเหลือง ผล เป็นฝัก เมล็ดรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน สีน้ำตาลแกมเขียว
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เมล็ดคั่วชงน้ำดื่ม ทำให้นอนหลับ ขับปัสสาวะ งานสาธารณสุขมูลฐานแนะนำให้ใช้เมล็ดคั่ว 10-13 กรัม ต้มน้ำดื่มเป็นยาระบาย หรือขนาด 5-15 กรัม ต้มน้ำดื่มขับปัสสาวะ พบว่าทุกส่วนมีสารกลุ่มแอนทราควิโนน และการทดลองในสัตว์สรุปว่าน้ำสกัดของเมล็ดมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ และบีบมดลูก สารสกัดเบนซีนมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังในหลอดทดลอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น