วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552


สมุนไพร แก้โรคกระเพาะ

ขมิ้นชัน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa L. วงศ์ : Zingiberaceaeชื่อสามัญ : Turmaricชื่ออื่น : ขมิ้น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น หมิ้นลีกษณะ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-90 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้ามเนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม มีกลิ่นเฉพาะ ใบ เดี่ยว แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอก ช่อ แทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล รูปกลมมี 3 พูประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เหง้ารักษาโรคผิวหนังผื่นคัน โดยทำเป็นผงผสมน้ำหรือเหง้าสด ฝนทาน้ำ มีรายงานว่าพบน้ำมันหอมระเหยและสาร curcumin ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อหนองได้ดี จากการทดลองทารักษาโรคผิวหนังพุพองในเด็กพบว่าให้ผลเท่ายาปฏิชีวนะ นอกจากนี้ยังใช้เหง้ารักษาโรคท้องอืด ท้องเฟ้อและแผลในกระเพาะอาหาร โดยใช้ขนาด 250 มิลลิกรัม กินครั้งละ 2 เม็ด วันละ 4 ครั้งหลังอาหารและก่อนนอน ฤทธิ์แก้ท้องอืดน่าจะเกิดน้ำมันหอมระเหย ส่วนการเพิ่มน้ำย่อยและขับน้ำดีเกิดจาก ฤทธิ์ของ curcumin และ p-tolylcarbinol ทำให้การย่อยอาหารดีขึ้น อาการจุกเสียดลดลง curcumin ยังสามารถยับยั้งการเกิดก๊าซที่สร้างโดยเชื้อโรคที่ทำให้ท้องเสีย (Escherichia coli) แต่ไม่ได้ฆ่าเชื้อ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งเมือกในทางเดินอาหาร จึงใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ แต่มีข้อควรระวังคือ curcumin ในขนาดที่สูงกว่าขนาดรักษา 2 เท่า ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
กล้วยน้ำว้า ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa sapientum L. วงศ์ : Musaceaeชื่อสามัญ ; Bananaลีกษณะ : ไม้ล้มลุก สูง 2-4.5 เมตร มีลำต้นใต้ดิน ลำต้นเหนือดินเกิดจากกาบใบหุ้มซ้อนกัน ใบ เดี่ยว เรียงสลับซ้อนกันรอบต้นที่ปลายยอด รูปขอบขนาน กว้าง 25-40 ซม. ยาว 1-2 เมตร ผิวใบเรียบมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า มีนวล ดอก ช่อเรียกว่า หัวปลีออกที่ปลายยอด ใบประดับหุ้มช่อดอกสีแดงหรือม่วง กลีบดอกสีขาว บาง ผล เป็นผลสดประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ผลดิบซึ่งมีสารแทนนินมาก รักษาอาการท้องเสียและบิด โดยกินครั้งละครึ่งหรือหนึ่งผล มีรายงานว่า มีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูขาวที่ถูกกระตุ้นด้วยยาแอสไพริน เชื่อว่าฤทธิ์ดังกล่าวเกิดจากการถูกกระตุ้นผนังกระเพาะอาหารให้หลั่งสารเมือกออกมามากขึ้น จึงนำมาทดลองรักษาโรคกระเพาะอาหารของคน โดยใช้กล้วยดิบ หั่นเป็นแว่น ตากแห้งบดเป็นผง กินวันละ 4 ครั้งๆ ละ 1-2 ช้อนแกง ก่อนอาหารและก่อนนอน อาจทำให้เกิดอาการท้องอืด ซึ่งป้องกันได้โดยกินร่วมกับยาขับลม เช่น ขิง
ว่านหางจรเข้ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aloe barbadensis Mill.วงศ์ : Liliaceaeชื่อสามัญ : Aloeชื่ออื่น : ว่านไฟไหม้ หางตะเข้ลีกษณะ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร ข้อและปล้องสั้น ใบเดี่ยว เรียงรอบต้น กว้าง 5-12 ซม. ยาว 30-80 ซม. อวบน้ำมาก สีเขียวอ่อนหรือเขียวเข้ม ภายในมีวุ้นใส ใต้ผิวสีเขียวมีน้ำยางสีเหลือง ใบอ่อนมีประสีขาว ดอกช่อ ออกจากกลางต้น ดอกย่อยเป็นหลอดห้อยลงสีส้ม บานจากล่างขึ้นบน ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้น้ำยางสีเหลืองจากใบเคี่ยวให้แห้งเรียวกว่า ยาดำ เป็นยาระบาย พบว่าเนื่องจากมีสารกลุ่มแอนทราควิโนน แต่พันธุ์ที่ปลูก ในประเทศไทยมีปริมาณน้ำยางน้อย ไม่อาจใช้ในการผลิตยาดำ จึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้ใช้วุ้นสดของใบปิดขมับแก้ปวดหัว การทดลองกับผู้ป่วยพบว่าวุ้นสดใช้รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลไหม้เกรียมจากแสงแดดและการฉายรังสี แผลสดแผลเรื้อรังตลอดจนกินเพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ดี วิธีใช้ให้เลือกใช้ใบล่างสุดของต้นก่อน ล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือกสีเขียวออก ล้างน้ำยางสีเหลืองออก ให้หมด เพราะอาจระคายเคืองผิวหนังและทำให้มีอาการแพ้ได้ ขูดเอาวุ้นใสปิดพอกบริเวณแผล หรือฝานเป็นแผ่นบางปิดแผลพันด้วยผ้าพันแผลที่สะอาด เปลี่ยนวันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น จนกว่าแผลจะหาย นอกจากนี้ยังใช้วุ้นเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางหลายประเภท เช่นแชมพูสระผม สบู่ ครีมกันแดดเป็นต้น สารที่ออกฤทธิ์เป็นกลัยโคโปรตีนชื่อ aloctin A ซึ่งมีฤทธิ์ลดการอักเสบและเพิ่มการเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อที่แผล แต่มีข้อเสียคือสลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน ไม่ควรทิ้งวุ้นสดไว้เกิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น