วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553


สมุนไพร แก้กลากเกลื้อน


ชุมเห็ดเทศ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia alata L.

วงศ์ : Leguminosaeชื่อสามัญ Ringworm Bush

ชื่ออื่น : ขี้คาก ลับมีนหลวง หมากกะลิงเทศ ชุมเห็ดใหญ่

ลักษณะ : ไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร แตกกิ่งออกด้านข้างในแนวขนานกับพื้น ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนานรูปวงรีแกมขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ กว้าง 3-7 ซ.ม. ยาว 6-15 ซ.ม. หนูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม ดอกช่อ ออกที่ซอกใบตอนปลายกิ่งกลีบดอกสีเหลืองทองใบประดับสีน้ำตาลแกมเหลือง หุ้มดอกย่อยเห็นชัดเจน ผลเป็นฝัก มี 4 ครีบ เมล็ดแบน รูปสามเหลี่ยม

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ใบและดอกและดอกเป็นยาระบาย โดยใช้ใบแห้งครั้งละ 12 ใบ ต้มหรือชงน้ำดื่มก่อนนอน หรือทำเป็นยาลูกกลอนหรือใช้ดอกสด 2-3 ช่อ ต้มกินเป็นผักจิ่ม การทดลองในสัตว์และคน พบว่าใบแก่มีฤทธิ์น้อยกว่าใบอ่อน ส่วนต่างๆ ของชุมเห็ดเทศมีสารกลุ่มแอนทราควิโนน เช่น rhein, emodin และ aloe-emodin ซึ่งมีฤทธิ์ระบายโดยการกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ จึงไม่ควรกินติดต่อกันนาน เพราะเมื่อไม่ได้รับยาจะทำให้ลำไส้ไม่ทำงานตามปกติ สตรีมีครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้นอกจากนี้ยังใช้ใบสดเป็นยาภายนอกรักษากลากเกลื้อน โดยตำแช่เหล้า เอาส่วนเหล้าทาบริเวณที่เป็นวันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย พบว่าได้ผลดี แต่ใช้ไม่ได้ผลกับผู้ป่วยที่ติดเชื่อราที่ผมและ

กระเทียม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium sativum L.
วงศ์ : Alliaceae ชื่อสามัญ : Common Garlic , Allium ,Garlic ,
ชื่ออื่น : กระเทียม (ภาคกลาง) หอมเทียม (ภาคเหนือ) หอมขาว (ภาคอีสาน) เทียม, หอมเทียม (ภาคใต้)ลักษณะ : ไม้ล้มลุก มีกลิ่นแรง มีหัวใต้ดิน ลักษณะกลมแป้น ใบ เดี่ยวขึ้นมาจากดิน เรียงซ้อนสลับ แบนเป็นแถบแคบ ช่อดอก แบบช่อซี่ร่ม ประกอบด้วยตะเกียงรูปไข่เล็กๆ จำนวนมากอยู่ปะปนกับดอกขนาดเล็กซึ่งมีจำนวนน้อย มีใบประดับใหญ่ 1 ใบ ลักษณะบางใส แห้ง เป็นจะงอยแหลมหุ้มช่อดอกขณะที่ยังตูมอยู่ ก้านช่อดอกเป็นก้านโดด เรียบ รูปทรงกระบอกตัน ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบรวม 6 กลีบ สีขาวหรือขาวอมชมพู ผล เล็กเป็นกระเปาะสั้นๆ รูปไข่หรือค่อนข้างกลม มี 3 พู เมล็ด เล็ก สีดำ
ประโยชน์ทางสมุนไพร : เป็นอาหารหรือเครื่องเทศ โดยใช้ทั้งต้นเป็นอาหาร หัวกระเทียมสด แห้ง และน้ำมันกระเทียมใช้เป็นเครื่องเทศแต่งกลิ่นอาหาร เป็นอาหารเสริมสุขภาพ ใช้บำบัดอาการไอ หวัด หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ปวดฟัน ปวดหู ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย โรคความดันโลหิตสูง เส้นเลือดเปราะ ขับลม ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ขับประจำเดือน ขับพยาธิไส้เดือน ลดอาการอักเสบบวม ฆ่าเชื้อ แก้โรคผิวหนัง เป็นยาฆ่าแมลง น้ำมันกระเทียมใช้ทาแก้แมลงกัดต่อย

ทองพันชั่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhinacanthus nasutus Kurz
วงศ์ : Acanthaceae
ชื่ออื่น : ทองคันชั่ง หญ้ามันไก่
ลักษณะ : ไม้พุ่มสูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนมักเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามรูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบกลีบดอกสีขาว โดคนกลีบติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมีจุดประสีม่วงแดง ผลเป็นผลแห้ง แตกได้
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ใบสดและรากโขลกละเอียด แช่เหล้าโรง 1 สัปดาห์เอาน้ำทาแก้กลากเกลื้อน สารสำคัญคือ rhinacanthin และ oxymethylanthraquinone

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น